ข่าวสารและบทความน่ารู้ ระบบกันสะเทือน MacPherson Strut (แม็กเฟอร์สัน สตรัท) ในแบบฉบับ LINHAI เจ๋งอย่างไร?


โพสต์วันที่ 05 พ.ย. 62 เวลา 15:52 น. โดย Admin


ระบบกันสะเทือน MacPherson Strut (แม็กเฟอร์สัน สตรัท) ในแบบฉบับ LINHAI เจ๋งอย่างไร?

ย้อนกลับไปปี 1930 ยุคที่ตลาดรถยนต์เติบโตอย่างต่อเนื่อง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ก็ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างแพร่หลาย รวมถึงระบบกันสะเทือนที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้รถยนต์มีความนุ่มนวลยิ่งขึ้น

ระบบกันสะเทือนในยุคนั้น มีแบบคานแข็งและแบบอิสระ ซึ่งแบบอิสระนั้นเป็นที่นิยมที่สุด เพราะเทคโนโลยีที่ทันสมัยและคุณภาพดีสุดนั่นเองครับ

กำเนิด ระบบ MacPherson

ระบบ MacPherson เกิดขึ้นจาก Earle S. MacPherson วิศวกรชาวอเมริกัน แห่ง GM Motor และ Ford ในปี 1947 ที่ได้พัฒนาช่วงล่างแบบปีกนกคู่ให้ออกมาเรียบง่ายขึ้น ลดความซับซ้อนลง หากเทียบกันแล้ว แม็กเฟอร์สัน สตรัท จะมีแค่แขนยึดด้านล่าง โดยแขนยึดด้านบนจะถูกตัดออก และถูกแทนที่ด้วยชุดสตรัท ทำให้ประหยัดพื้นที่ด้านบนไป โดยด้านล่างจะถูกยึดติดกับคอม้าหรือดุมล้อโดยตรง ซึ่งจะลดส่วนประกอบในการติดตั้งไปได้มาก ทำให้รถมีน้ำหนักเบาและเคลื่อนที่ได้รวดเร็วกว่าช่วงล่างแบบอื่นๆ

ระบบ MacPherson นี้เป็นที่นิยมแพร่หลายในยุโรปเพราะความไม่ซับซ้อน ถูกนำมาใช้ในช่วงล่างด้านหน้าของรถเก๋ง ในแทบทุกระดับ ทั้ง B-Segment D segment เนื่องจากมีความนุ่มนวลและการเกาะถนนที่ดี สามารถปรับแต่งให้เข้ากับตัวรถได้ง่าย ที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายในการดูแลบำรุงรักษาน้อยกว่าระบบอื่นๆ


ระบบกันสะเทือน MacPherson ใน LINHAI 300

ทำไมถึงใช้ MacPherson?

ต้องย้อนไปในปี 1994 Linhai และ Yamaha ได้ร่วมทุนกันที่จีน เพื่อผลิตเครื่องยนต์และอะไหล่ส่งกลับที่ญี่ปุ่น โดยมียามาฮ่านี่แหละ ที่คอยการควบคุมการผลิต จากนั้นมา หลินไฮ ก็ได้รับโนฮาวและใช้เทคโนโลยีของยามาฮ่ามาโดยตลอด

ซึ่งรถเอทีวีของยามาฮ่า หลายๆ รุ่น ในยุคนั้น ก็ใช้ระบบกันสะเทือนแบบ MacPherson Strut แทบทุกโมเดล เพราะมันรับกับโครงสร้างรถได้อย่างพอดีและสามารถปรับเซ็ตช่วงล่างให้เหมาะกับบุคลิกของรถได้ง่ายครับ

สรุปคือ LINHAI 300 ใช้ MacPherson Sturt ก็เพราะด้วยโครงสร้างตัวรถที่ออกแบบตามแบบฉบับของยามาฮ่า จึงต้องใช้ช่วงล่าง MacPherson ตามลำดับครับ

ทั้งๆที่ ยุคหลัง ได้ทีม R&D และ ทีมดีไซเนอร์จากฝรั่งเศสมาช่วยดูแล แต่ทาง LINHAI ก็ยังคงตั้งใจพัฒนาระบบช่วงล่าง บนพื้นฐานความเป็น MacPherson อยู่ เรียกได้ว่า เป็น Signature ของทาง Linhai เลยก็ว่าได้ครับ เพราะทุกโมเดลของค่ายนี้ จะใช้ช่วงล่างด้านหน้าแบบ MacPherson ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น D Series หรือ M Series

ภาพรถเอทีวี LINHAI D570 ที่มา: Linhai Australia

ภาพรถเอทีวี LINHAI M550 ที่มา: ASPGroup


เจาะลึก จุดเด่นระบบช่วงล่างของ LINHAI 300

- ที่เห็นชัดเจน สำหรับส่วนประกอบของระบบช่วงล่าง MacPherson ของ Linhai 300 คือ กระบอกโช๊คที่เป็นอลูมิเนียมอัลลอย ซึ่งทนทานและมีน้ำหนักเบากว่าโช๊คที่ใช้กระบอกเหล็ก

- โช๊คอัพแบบ MacPherson ของ Linhai มีปลายเกลียวสตรัทที่สูงและยาว จึงปรับระยะความสูงของตัวรถได้อย่างน้อย 1-2 นิ้ว ตามการใช้งาน ซึ่งจะเหมาะกับชาวออฟโรดเป็นอย่างยิ่งครับ

- โช๊คอัพของ Linhai เป็น Coil Spring ทรงฟักข้าวโพด เป็นการผสมผสานกันระหว่าง สปริงขดอ่อน และ สปริงขดแข็ง ช่วยเสริมความนุ่มนวลในการขับขี่ในทุกรอบความเร็ว

- มีความทนทานกว่าโช๊คอัพ 2 หูกลม เนื่องจากจุดหมุนด้านบนของโช๊คอัพมีน้อยมาก จึงสึกหรอได้น้อยกว่า


สำหรับ เรื่องการรซับแรงกระแทก เมื่อเทียบกับ Double Wishbone แล้ว MacPherson อาจจะเป็นรอง (แต่หากเซ็ตดีๆ ก็ไม่แน่ครับ) แต่ในเรื่องของความทนทาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา MacPherson ถือว่าทำได้ดีกว่าครับ

ค้นหา
LINE Official
เฟซบุ๊คแฟนเพจ